การแสดงภาพความสำเร็จ: การใช้ประโยชนจากความสามารถด้านกราฟฟิคของ Minitab เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง

การจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานว่าจะมีการดำเนินงานไปได้ราบรื่น ลดต้นทุนการทำงาน และตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อให้ได้ระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสมจำเป็นต้องมีระบบตรวจสอบและการควบคุมที่แข็งแกร่ง ในบทความนี้เราจะพูดถึงเครื่องมือกราฟฟิคของ Minitab ที่มีการใช้งานจริง เช่น แผนภูมิพาเรโต (Pareto chart) แผนภูมิควบคุม (control chart) และ แผนภาพการกระจาย (scatter plot) รวมถึงวิธีการที่นำข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาหารูปแบบการดำเนินงานของคลังสินค้าเพื่อนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

ความสามารถของแผนภูมิพาเรโต

แผนภูมิพาเรโต(Pareto chart)เป็นแผนภูมิแท่งชนิดพิเศษที่มีการลงจุดข้อมูลเรียงจากค่ามากที่สุดไปจนถึงค่าที่น้อยที่สุด  แผนภูมิพาเรโตใช้เพื่อระบุและจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดหรือหัวข้อปัญหาที่มีผลกระทบต่อผลลัพธ์มากที่สุด การนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลังคือทำให้รู้ได้ว่า สินค้าคงคลังที่เป็นส่วนสำคัญของปัญหาและเป็นส่วนที่เกิดค่าใช้จ่ายสำคัญมีจำนวนไม่มาก และเมื่อมีการติดตามสินค้าดังจำนวนไม่มากทำให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งตรงกับหัวใจหลักที่ให้ไว้ในแผนภูมิพาเรโต คือ สิ่งสำคัญมากมีจำนวนน้อย (vital few) ซึ่งทำให้ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานทำงานเกี่ยวกับสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากที่สุด

pareto

เมื่อใช้แผนภูมิพาเรโตในการวิเคราะห์ ปัจจัยที่ควรพิจารณา คือ

  • ระบุสิ่งสำคัญมากที่ควรจะมีสองสามรายการ: ระบุรายการหรือหมวดหมู่ที่มีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหากับคลังสินค้า เช่น สินค้ามีไม่เพียงพอ สินค้ามีมากเกินไป หรือ สินค้าที่มีเวลานำ (lead time) ในการส่งยาวนาน รายการสินค้าที่สำคัญมากเหล่านี้จะกลายเป็นสินค้าที่ควรเอาใจใส่และใส่ความพยายามในการปรับปรุง
  • กำหนดลำดับความสำคัญในการปรับปรุง: การใช้แผนภูมิพาเรโตเพื่อระบุส่วนที่อาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังมากที่สุด ทำให้จัดสรรทรัพยากรและจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินงานตามความจำเป็น
  • ค้นหาสาเหตุที่แท้จริง: เมื่อระบุสิ่งที่สำคัญได้แล้วต่อไปเป็นการตรวจสอบสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบนั้น จากนั้นทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง เช่น การคาดการณ์อุปสงค์ไม่ถูกต้อง ปัญหาสมรรถนะการทำงานของผู้ส่งมอบ (supplier)หรือ กระบวนการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ
  • สร้างแผนปฏิบัติการ: เมื่อทำความเข้าใจได้ชัดเจนแล้วว่าปัญหาที่สำคัญและสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ทำให้สร้างแผนปฏิบัติการที่เหมาะสมกับเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น ทำให้ร่วมมือกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้ส่งมอบ ฝ่ายขาย และฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตามความจำเป็น

ดาวน์โหลด Minitab Statistical Software ทดลองใช้ฟรีเพื่อเริ่มแสดงภาพข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของคุณวันนี้!

30day

การรักษากระบวนการให้อยู่ภายใต้การควบคุมด้วยแผนภูมิควบคุม

แผนภูมิควบคุม(Control charts) คือ แครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในการแสดงให้เห็นความผันแปรของกระบวนการที่เปลี่ยนไปตามเวลา เครื่องมือนี้ใช้เพื่อระบุว่ากระบวนการทำงานอยู่ในการควบคุม (เสถียร) หรือ อยู่นอกการควบคุม (มีการความผันแปรที่ไม่ได้คาดคิด) ด้วยการตรวจสอบตัวชี้วัดที่สำคัญด้วยการใช้แผนภูมิควบคุม ทำให้ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานสามารถระบุและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงคลัง เช่น การขาดแคลนสินค้าคงคลัง การมีสินค้าคงคลังเกิน หรือ รูปแบบอุปสงค์ที่ไม่ปกติ

ประเด็นที่ควรให้ความสนใจ เมื่อใช้แผนภูมิควบคุมในการวิเคราะห์

  • ระบุสัญญานที่บ่งบอกว่าการดำเนินงานไม่อยู่ภายใต้การควบคุม: การติดตามแผนภูมิควบคุม เมื่อมีจุดข้อมูลออกนอกเส้นขีดจำกัดการควบคุมหรือแสดงรูปแบบที่ไม่ปกติ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่ากระบวนการไม่อยู่ภายใต้การควบคุมและต้องการการค้นหาและระบุสาเหตุที่แท้จริง
  • การค้นหาสาเหตุที่แท้จริง: เมื่อมีตัวบ่งชี้ว่ากระบวนการกำลังดำเนินงานนอกการควบคุม ต้องวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา โดยหมายถึง การตรวจสอบหาปัจจัยที่สำคัญของสมรรถนะการทำงานของผู้ส่งมอบ ปัจจัยที่ทำให้กระบวนการทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ การพยากรณ์อุปสงค์ หรือ นโยบายการบริหารคลังสินค้าที่ไม่เหมาะสม
  • การดำเนินการแก้ไข: จากการวิเคระห์ พัฒนา และ ดำเนินการแก้ไขที่เหมาะสมเพื่อทำให้การบริหารคลังสินค้ากลับมาอยู่ภายใต้การควบคุม การดำเนินงานที่ร่วมมือกันในหลายส่วน ได้แก่ ผู้ส่งมอบ ฝ่ายขาย และฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อค้นหาและระบุสาเหตุที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิผล
  • การตรวจติดตามและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง: การติดตามด้วยแผนภูมิควบคุมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการแก้ไขนั้นประสบความสำเร็จและทำให้กระบวนการทำงานนั้นกลับมาอยู่ภายใต้การควบคุม โดยทั่วไปแล้วจะทำการปรับปรุงข้อมูลที่ใช้กับแผนภูมิควบคุมให้เป็นปัจจุบันและวิเคราะห์ผลลัพธ์เพื่อดูว่ามีแนวโน้มจะเกิดปัญหาและมีสิ่งใดที่ต้องให้ความสนใจเพิ่มเติมหรือไม่ 
controlchart

Minitab มีแผนภูมิที่ไม่ค่อยใช้งานทั่วไป เช่น แผนภูมิที (T chart) เป็นแผนภูมิที่แสดงเวลาระหว่างเหตุการณ์ แผนภูมิจี (G chart) เป็นแผนภูมิที่แสดงค่าเฉลี่ยเรขาคณิตเคลื่อนที่ (Geometric Moving Average) แผนภูมิเหล่านี้ใช้สำหรับการตรวจติดตามหัวข้อเฉพาะบางอย่างในการบริหารคลังสินค้า เช่น การตรวจติดตามค่าเวลานำ (lead time) การวิเคราะห์รูปแบบการเติมสินค้าเข้าคลัง การติดตามตัวชี้วัดสมรรถนะการทำงานของคลังสินค้า การตรวจจับความผันแปรของกระบวนการ การใช้แผนภูมิเหล่านี้ทำให้ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานใช้วิธีการตัดสินใจด้วยข้อมูล เพื่อปรับระดับสินค้าคงคลังและดำเนินการจัดการห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เรียนรู้วิธีเลือกแผนภูมิควบคุมที่เหมาะสมตามประเภทข้อมูลของคุณ ได้จากโพสต์นี้


ใช้แผนภาพการกระจายแสดงความสัมพันธ์

แผนภาพการกระจาย(Scatter plots) เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าสำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ เช่น อปุสงค์ของสินค้า ระดับของสินค้าคงคลัง ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานสามารถใช้แผนภาพการกระจายเพื่อทำให้สินค้าคงคลังอยู่ในสถานะที่เหมาะสมด้วยแนวทางเหล่านี้

  • การระบุรูปแบบและแนวโน้ม (pattern and trend): แผนภาพการกระจายสามารถใช้เพื่อระบุรูปแบบที่ชัดเจน เช่น กลุ่ม (cluster) แนวโน้ม (trend) หรือ ความผิดปกติ (outlier) รูปแบบเหล่านี้จะเป็นสิ่งบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพลวัตรของสินค้าคงคลัง
  • การประเมินความสัมพันธ์: ใช้คุณสมบัติของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (correlation coefficient) ของ Minitab เพื่อหาระดับและทิศทางความสัมพันธ์ของตัวแปร ความสัมพันธ์เชิงบวก แสดงให้เห็นว่าเมื่อตัวแปรตัวหนึ่งเพิ่มขึ้นตัวแปรอีกตัวหนึ่งจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความสัมพันธ์เชิงลบบ่งบอกถึงความสัมพันธ์แบบผกผัน
  • ระบุปัจจัยที่มีอิทธิผล: ระบุปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสินค้าคลัง ปัจจัยที่มีอิทธิพลเหล่านี้จะเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานคลังสินค้า ตัวอย่างเช่น ถ้าพบว่าปัจจัยเรื่องอุปสงค์และการขาดแคลนสินค้ามีความสัมพันธเชิงบวกที่แข็งแกร่ง ดังนั้นการเพิ่มสินค้าคงคลังในช่วงที่มีอุปสงค์มากจะมีส่วนช่วยรับประกันการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี
  • การวิเคราะห์แบบสร้างสถานการณ์สมมติ (What-If Analysis): Minitab ช่วยให้คุณทดสอบกับสถานการณ์สมมติแบบต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนปัจจัยต่างๆในแผนภาพการกระจาย ในการทำขั้นตอนนี้ทำให้ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานประเมินถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยในการดำเนินงานคลังสินค้า เช่น การปรับระยะเวลาในการรอคอยสินค้า หรือ ใช้กลยุทธ์ในการจัดหาผู้ส่งมอบทางเลือก
scatter

ใช้กราฟอนุกรมเวลา (Time series plots) แสดงแนวโน้มและอิทธิพลฤดูกาล

กราฟอนุกรมเวลา (Time series plots) ใช้เพื่อแสดภาพและวิเคราะห์ว่าตัวแปรหรือชุดตัวแปรใดที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างไรเมื่อเวลาเปลี่ยนไปในช่วงที่กำหนด ใช้กราฟอนุกรมเวลาทำให้ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานสามารถ

  • คาดการณ์อุปสงค์ในอนาคต: ด้วยการใช้เทคนิคการคาดการณ์และตัวแบบจำลองของข้อมูลอนุกรมเวลา ทำให้ผู้จัดการสามารถทำนายรูปแบบอุปสงค์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างน่าเชื่อถือ การพยากรณ์นี้จะเป็นพื้นฐานทำให้การบริหารคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสำรองสินค้าในคลังให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าที่คาดการณ์ไว้ด้วยการสำรองสินค้าให้น้อยที่สุด
  • จัดการความผันผวนตามฤดูกาล (Seasonal): โดยการวิเคราะห์จากกราฟข้อมูล ผู้จัดการสามารถสังเกตรูปแบบและปรับระดับสินค้าคงคลังให้เป็นไปตามสมควร การทำความเข้าใจเรื่องปัจจัยของฤดูกาลทำให้ผู้จัดการปรับแผนงานในช่วงฤดูกาลที่มีอุปสงค์มาก ด้วยการปรับสินค้าสำรอง (safety stock) และปรับกลยุทธ์การเติมสินค้าให้เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนสินค้าหรือสินค้าที่มีมากเกินไป
  • ตรวจสอบประสิทธิภาพของสินค้าคงคลัง: โดยการเปรียบเทียบระดับสินค้าคงคลังจริงกับเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ผู้จัดการสามารถประเมินความถูกต้องของแผนการดำเนินงานในคลังสินค้าและปรับเปลี่ยนแผนตามความจำเป็น การตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของคลังสินค้าทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและทำให้มั่นใจว่าระดับสินค้าคงคลังนั้นมีเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าด้วยการมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด
  • ระบุค่าผิดปกติและความไม่ปกติ (Outliers and Anomalies): การสร้างกราฟอนุกรมเวลาของข้อมูลสินค้าคงคลังทำให้ผู้จัดการระบุถึงค่าข้อมูลที่ผิดปกติและความไม่ปกติที่มีความแตกต่างจากรูปแบบที่ควรจะเป็น ค่าข้อมูลที่ผิดปกติจะเป็นการชี้บ่งถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างฉับพลัน การหยุดชะงักของอุปทาน หรือ ความผิดปกติอื่นๆ ในการระบุและค้นหาความไม่ปกตินี้ทำให้ผู้จัดการดำเนินการแก้ไขเพื่อทำให้การดำเนินงานเกี่ยวกับสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงและปรับปรุงสมรรถนะการทำงานของห่วงโซ่อุปทานโดยรวม
timeseries

ความสามารถด้านกราฟฟิคของ Minitab ช่วยให้ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานค้นพบข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าจากข้อมูลสินค้าคงคลังที่ตนเองมีอยู่ ด้วยภาพที่แสดงให้เห็นจากเครื่องมือต่างๆ เช่น แผนภูมิพาเรโต แผนภูมิควบคุม แผนภาพการกระจาย และกราฟอนุกรมเวลา สิ่งที่ได้จากเครื่องมือเหล่านี้ทำให้ผู้จัดการทำความเข้าใจรูปแบบคลังสินค้า ระบุสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา คาดการณ์อุปสงค์ได้ถูกต้องขึ้น และปรับระดับสินค้าในคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อทำให้การบริหารคลังสินค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การใช้เครื่องมือด้านกราฟฟิคของ Minitab ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านห่วงโซ่อุปทานสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลขับเคลื่อนเพื่อทำให้การบริหารคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและได้ระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม


พร้อมที่จะรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับข้อมูลห่วงโซ่อุปทานของคุณแล้วหรือยัง? มาดูกันว่ามันจะง่ายแค่ไหนด้วย Supply Chain Module ของ Minitab!

exploresupplychainmodule

บทความต้นฉบับ : Visualizing Success: Leveraging Minitab’s Graphical Capabilities for Inventory Optimization

ต้นฉบับนำมาจาก Minitab blog, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ,

บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย

Minitabbloglogo

เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab

Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ 
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ 
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ