การตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากด้วยแผนภูมิจี (G Chart)

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก (Rare events) เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในทุกกระบวนการ เช่น ในโรงพยาบาลความผิดพลาดในเรื่องการให้ยาหรือการรักษา การติดเชื้อ ผู้ป่วยลื่นล้ม หรือ การติดเชื้อที่ปอดกับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมไปถึงเหตุการณ์อื่นๆที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ทำให้ผู้ป่วยต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้นและอาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากนั้นอาจเกิดในบริบทประกอบอื่นๆอีกมากมาย เช่น ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ต้องการตรวจจับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการเขียนรหัสโปรแกรม หรือ ผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายคุณภาพต้องการตรวจจับกระบวนการที่มีอัตราการเกิดข้อผิดพลาดน้อยและให้ผลผลิตมาก อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติงาน และ เครื่องยนต์เครื่องบินทำงานขัดข้อง เหล่านี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากเช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสุขภาพ การพัฒนาซอฟท์แวร์ การผลิต หรือ ธุรกิจอื่นๆ การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติถือเป็นส่วนสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพ การใช้แผนภูมิควบคุม(Control Charts)โดยทำการสร้างกราฟเพื่อตรวจจับหาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากและตรวจจับกระบวนการเพื่อดูว่ากระบวนนั้นอยู่ในสภาวะเสถียร (stable) หรือไม่ และถ้าไม่อยู่ในสภาวะเสถียรซึ่งเป็นสภาวะที่เราไม่สามารถทำนายผลได้และควรได้รับการเอาใจใส่มากกว่าปกติ

แผนภูมิจี (The G Chart)

แผนภูมิควบคุมมีให้เลือกใช้ได้หลากหลายรูปแบบ แต่ในกรณีที่มีสถานการณ์ที่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก Minitab มีแผนภูมิจีไว้ให้เลือกใช้สำหรับกรณีนี้ แผนภูมิจีนี้ใช้เพื่อประเมินว่ากระบวนการมีความเสถียรหรือไม่ โดยแผนภูมิจีสร้างจากแนวคิดของการแจกแจงแบบจีออเมตริกซ์ (Geometric distribution) เพื่อใช้ในค้นหาสถานการณ์ที่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก โดยจะทำการเขียนจำนวนวันที่เป็นช่วงห่างระหว่างการเกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากหรือใช้พลอตจำนวนโอกาสที่เกิดสถานการณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก

การสร้างและใช้แผนภูมิจีนั้นไม่ซับซ้อน โดยการสร้างแผนภูมิ ต้องทำการเก็บข้อมูลจำนวน หรือ ค่าโอกาส ระหว่างการเกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากแต่ละครั้ง

ประโยชน์ของแผนภูมิจี (Advantages of the G Chart)

แผนภูมิจีใช้งานง่ายแต่ยังคงให้ประโยชน์ในเรื่องการตรวจสอบหาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากโดยมีความไวในการตรวจสอบได้ดีกว่าวิธีการแบบเดิม เพราะว่าอัตราการเกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากอยู่ในระดับต่ำ ทำให้การใช้แผนภูมิแบบเดิมอย่าง P-Chart อาจไม่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิผลมากนัก เพราะว่าความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่เราสนใจมีค่าน้อยมาก และถ้าขนาดของกลุ่มย่อยมีขนาดใหญ่เพื่อทำให้สามารถสร้าง P-Chart ได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้ต้องมีการเก็บข้อมูลจำนวนมากซึ่งทำให้ใช้ระยะเวลานานขึ้นเพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการ แต่ถ้าเป็นแผนภูมิจีซึ่งไม่ต้องการจำนวนข้อมูลเยอะทำให้สามารถตรวจจับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากในกระบวนการได้ดีกว่า

ประโยชน์อีกข้อหนึ่งของแผนภูมิจี คือ ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลทั้งหมดเพื่อดูค่าโอกาสของการเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับ p-chart

ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้ p chart เพื่อดูความผิดพลาดในการรักษา เราจะต้องทำการนับจำนวนผู้ป่วยทุกคนที่มาเข้ารับการรักษา จากนั้นจึงจะนำมาดูสัดส่วนของการรักษาที่ผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในขณะที่แผนภูมิจีจะทำการบันทึกวันที่เกิดความผิดพลาดในการรักษา หมายเหตุ แผนภูมิจี มีสมมติฐานว่า โอกาสของการเกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก (ซึ่งจากตัวอย่างนี้ คือ ความผิดพลาดในการรักษา) มีค่าคงที่

การสร้างแผนภูมิจี (Creating a G Chart)

1 5

ในแต่ละปีการรักษาในโรงพยาบาลแล้วทำให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล (nosocomial ,hospital-acquired, infections)มักเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ และการติดเชื้อนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องใช้เวลาในรักษานานขึ้น หรือแม้กระทั่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าคุณเป็นเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลและต้องการจะตรวจสอบการติดเชื้อในโรงพยาบาลลักษณะนี้ว่าเกิดขึ้นแบบไหน เพื่อที่จะทำการแก้ไขได้ทันทีเมื่อเกิดมีการเปลี่ยนแปลงใดใด

อย่างแรกที่ต้องทำ คือ เก็บข้อมูลตั้งต้น ซึ่งในที่นี้เราจะทำการบันทึกวันที่เกิดเหตุการณ์ที่สนใจ ซึ่งในที่นี้ คือ การติดเชื้อในโรงพยาบาล และเมื่อนำไปสร้างแผนภูมิจีข้อมูลตรงนี้จะถูกแปลงไปเป็นระยะห่างจำนวนวันของการเกิดการติดเชื้อในแต่ละครั้ง (ที่เกิดต่อเนื่องกัน)

คำสั่งที่ใช้ใน Minitab คือ Stat > Control Charts > Rare Event Charts > G ใน dialog box ให้เลือก ‘Dates of events’ หรือ ‘Number of opportunities’ ระหว่างการติดเชื้อแต่ละครั้ง โดย ‘Dates of events’ จะถูกกำหนดเป็นคอลัมน์ Infections

การแปลความหมายแผนภูมิจี (Interpreting a G Chart)

จากตัวอย่างนี้ Minitab จะทำการสร้างแผนภูมิจีของจำนวนวันที่เป็นระยะห่าง(วัน)ของการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง จุดที่ออกนอกขอบเขตควบคุมด้านบน (UCL) คือ จุดที่บอกว่าการเกิด เหตุการณ์ของการติดเชื้อนี้ห่างจากการติดเชื้อครั้งสุดท้ายเกินกว่าระยะเวลาที่ปกติจะเกิดต่อเนื่องกัน ส่วนจุดที่อยู่ใกล้ๆหรือออกนอกเส้นควบคุมด้านล่าง (LCL) คือ การบอกว่าการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเกิดเร็วขึ้นกว่าระยะเวลาที่ปกติจะเกิดต่อเนื่องกัน

Minitab จะเน้นจุด(โดยการเปลี่ยนเป็นสีแดง) ที่จุดใดใดที่ออกนอกเส้นควบคุม หรือ มีพฤติกรรมที่บ่งชี้ไปถึงสาเหตุที่ไม่ปกติ (special cause)

2 4

จากแผนภูมิจีด้านบนนี้ ชี้ให้เห็นว่า โรงพยาบาลนี้มี ไม่มีการติดเชื้อเป็นระยะเกือบ 2 เดือน ซึ่งสิ่งที่ควรทำ คือ การหาว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ และควรนำมาปฏิบัติเพื่อให้ได้แบบนี้ (เกิดการติดเชื้อยากขึ้น)และอีกจุดหนึ่งคือ เมื่อจำนวนระยะห่าง(วัน)ของการเกิดการติดเชื้อลดลง หมายความว่า เกิดมีการติดเชื้อบ่อยขึ้น การจัดการบางอย่างอาจมีความผิดปกติ สิ่งที่ควรทำคือการค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อต่อเนื่องเพิ่มขึ้น

การตรวจติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากด้วยแผนภูมิที (Monitoring Rare Events with T Charts)

เมื่อแผนภูมิจีใช้ในการดูว่าจำนวนวัน หรือ โอกาส ที่เกิดระหว่างสองเหตุการณ์ เราสามารถใช้แผนภูมิทีได้ในกรณีที่ข้อมูลเป็นแบบต่อเนื่อง เช่น นอกเหนือจากวันที่ แล้วยังมีการบันทึกเวลาที่เกิดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากไว้ด้วย เราสามารถใช้คำสั่ง Stat > Control Charts > Rare Event Charts > T เพื่อวิเคราะห์ความเสถียรของกระบวนการกับข้อมูลของเวลา (ที่เป็นข้อมูลแบบต่อเนื่อง) ได้ด้วยเช่นกัน

เมื่อองค์กรเริ่มเห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพ พวกเขาจะพบว่าการเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก ที่เป็นปัญหาลักษณะเชิงบวกที่จะนำไปสู่สิ่งดีๆได้ เมื่อเหตุการณ์ที่เกิดได้ยากเหล่านี้ มีการเกิดซ้ำๆขึ้นเรื่อยๆ ทางเลือกหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติงานจะเลือกใช้เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของกระบวนการ คือ Minitab ที่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่างแผนภูมิจีและแผนภูมิที ไว้ให้เลือกใช้


บทความต้นฉบับ : Monitoring Rare Events with G Charts

ต้นฉบับนำมาจาก Minitab blog, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ,

บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย

Minitabbloglogo

เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab

Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ 
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ 
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ