ในธุรกิจน้ำมัน มี 2 สิ่งที่ไม่ว่าจะเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ บริษัทน้ำมันแห่งชาติ บริษัทน้ำมันอิสระ บริษัทบริการบ่อน้ำมัน และผู้รับเหมาอิสระ มีเหมือนๆกันในธุรกิจ คือ
พวกเขาต้องการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนที่น้อยที่สุด
ความไร้ประสิทธิภาพในการขุดเจาะทำให้พวกเขาต้องเจอสิ่งที่ท้าทายความสามารถเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายให้ได้
ทำไมถึงเกิดความไร้ประสิทธิภาพ
อาจมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้บริษัทน้ำมันพบความไร้ประสิทธิภาพของการทำงานในขั้นตอนการขุดเจาะ
ความท้าทายทางธรณีวิทยา
ขั้นตอนการขุดเจาะอาจได้รับผลกระทบจากความซับซ้อนทางธรณีวิทยา เช่น การเกิดขึ้นของชั้นหิน พื้นที่ที่มีแรงดันสูง หรือสภาพใต้พื้นผิวดินที่ไม่คาดคิด ความท้าทายเหล่านี้อาจทำให้การขุดเจาะเป็นไปได้ช้า ทำให้เครื่องมือในการขุดเจาะเกิดการสึกหรอที่เร็วขึ้น และต้องมีการซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วนเครื่องจักรบ่อยขึ้น
ข้อจำกัดของอุปกรณ์
อุปกรณ์ขุดเจาะที่ล้าสมัยหรือไร้ประสิทธิภาพทำให้เป็นอุปสรรคในการขุดเจาะ อุปกรณ์ที่ทำงานไม่ปกติ แรงบิดของเครื่องจักรไม่เพียงพอ ความเร็วในการขุดเจาะไม่เพียงพอ หรือ การหมุนเวียนของน้ำมันในกระบวนการขุดเจาะไม่ดีพอ ทั้งหมดที่กล่าวมาอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้กระบวนการขุดเจาะไม่มีประสิทธิภาพ
การวางแผนและการดำเนินงานที่ไม่ดีพอ
การวางแผนและการประสานงานที่ไม่ดีอาจทำให้กระบวนการขุดเจาะไม่มีประสิทธิภาพ การออกแบบที่ไม่ดี การเลือกใช้เทคนิคการขุดเจาะที่ไม่เหมาะสม การรักษาสภาพของหลุมขุดเจาะ การดูแลและการสื่อสารที่ไม่ดีพอ ทั้งหมดที่กล่าวมาอาจเป็นสาเหตุทึ่ทำให้กระบวนการขุดเจาะล่าช้าและส่งผลต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
คุณสมบัติของน้ำมันในกระบวนการขุดเจาะ
คุณสมบัตของสารหล่อลื่นในการขุดเจาะ เช่น ความหนืด (viscosity) ความหนาแน่น (density) ความสามารถในการหล่อลื่น (lubricity) และความเสถียร (stability) ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญของประสิทธิภาพของกระบวนการขุดเจาะ
การใช้สารหล่อลื่นในการขุดเจาะที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาบางอย่าง เช่น การติดขัดของท่อ มีการเกาะติดที่ไม่ปกติ รูที่ทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ หรือ เกิดอุปกรณ์การขุดเจาะที่การสึกหรอมากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการขุดเจาะลดลง
การปฏิบัติตามกฎระเบียบและความปลอดภัย
กฎระเบียบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดในอุตสาหกรรมน้ำมันและกาซ อาจทำให้กระบวนการขุดเจาะมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น ดังนั้นการที่บริษัทต้องปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยด้านต่างๆอย่างเข้มงวด อาจเป็นเหตุให้เกิดความล่าช้าหรือหยุดชะงักในการขุดเจาะทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถระบุพื้นที่ของการปรับปรุงเพื่อลดและกําจัดความไร้ประสิทธิภาพ
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องของกระบวนการขุดเจาะสามารถช่วยระบุความไม่มีประสิทธิภาพ หากบริษัทไม่มีสิ่งนี้อาจจะทำให้ผิดพลาดในการหาแนวทางปฏิบัติที่จะเพิ่มประสิทธิภาพที่ดีที่สุด บทเรียนที่ได้เรียนรู้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการขุดเจาะได้
ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งต้องการประเมินและปรับปรุงกระบวนการขุดเจาะในหัวข้อความเร็วในการขุดเจาะ เวลาที่ใช้การขุดเจาะให้ได้ความลึกตามที่กำหนด เป้าหมายของบริษัท คือ เจาะให้ได้ความลึกตามที่กำหนดไว้ในเวลา 12 ชั่วโมง บริษัทได้มีการเก็บข้อมูลเวลาในการขุดเจาะจากหลุดขุดเจาะตัวอย่างไว้ 30 หลุมเจาะตัวอย่างดังนี้
12.5, 10.9, 11.8, 13.2, 11.5, 12.1, 11.3, 12.7, 13.5, 14.2, 10.8, 12.0, 13.1, 12.3, 11.6, 12.8, 11.9, 12.4, 13.0, 12.6, 11.2, 13.3, 12.9, 12.6, 11.7, 13.8, 12.5, 12.2, 10.7, 11.4
การนำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการแสดงผลลัพธ์ด้วยภาพ
แม้ว่าขั้นตอนพื้นฐานแรก คือ การคำนวณค่าสถิติเบื้องต้นต่างๆ เช่น ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่ามัธยฐาน (median) และค่าพิสัย (range) ซึ่งทำให้เราได้รับรู้ค่าผิดปกติ (outliers) และรูปแบบที่ผิดปกติได้
จากข้อมูลตัวอย่างจะได้ค่าเฉลี่ยและค่ามัธยฐานอยู่ระหว่าง 12 ถึง 12.5 ชั่วโมง ซึ่งบ่งบอกว่าข้อมูลมีรูปแบบสมมาตรและการแจกแจงแบบปกติ เมื่อพิจารณาฮีสโตแกรม(histogram)เราจะเห็นภาพที่แสดงให้เห็นการกระจายข้อมูลและค่าผิดปกติ
แต่ว่าค่าเฉลี่ยที่ได้ยังไม่ตรงกับเวลาที่บริษัทกำหนดไว้ คือ 12 ชั่วโมง
โอกาสที่สามารถปรับปรุงได้ มี 2 ข้อ คือ หนึ่งระบุว่าหลุมเจาะใดใช้เวลาในการขุดเจาะมากกว่า 12 ชั่วโมง ทำให้สามารถระบุได้ว่าทำไมจึงไร้ประสิทธิภาพ
สองอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ใช้เวลาในการเจาะหลุมนั้นน้อยกว่าค่าเฉลี่ยนและค่ามัธยฐาน ซึ่งจะนำไปเป็นโอกาสให้เกิดการเรียนรู้สำหรับการขุดเจาะหลุมอื่นๆต่อไป
ขณะที่มีโอกาสชัดเจนเพื่อการปรับปรุงในก่อนหน้านี้ แต่ก่อนที่เราจะคิดถึงการแก้ไขกระบวนการทำงานสิ่งที่ควรทำความเข้าใจให้ดีขึ้นคือกระบวนการทำงานนั้นทำงานให้ผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอและอยู่ในสภาวะเสถียรหรือไม่
การวิเคราะห์กระบวนการทำให้สามารถบ่งชี้ได้ว่ากระบวนการมีเสถียรภาพและสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่
การใช้ความสามารถของ Process Capability Six Pack ที่มีใน Minitab ด้วยการคลิ๊กเพียงครั้งเดียวจะได้ แผนภูมิควบคุมที่แสดงให้เห็นว่ากระบวนการทำงานนี้มีเสถียรภาพ (stable) แต่ ค่า Cpk และ Ppk มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ หมายความว่ากระบวนการไม่มีความสามารถ โดยทั่วไปกระบวนการที่มีความสามารถ (capable) คือ ค่า Cpk และ Ppk มีค่ามากกว่า 1.33 หรือ ค่า 2.00 หรือสูงกว่าหากเป็นไปได้
การทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญต่อการปรับปรุง เพราะจะเป็นตัวบอกว่ากระบวนการนั้นทำได้ตามข้อกำหนดหรือไม่ แทนที่จะพยายามเปลี่ยนแปลงหลุมเจาะใดหลุมหนึ่งเราควรประเมินกระบวนการขุดเจาะทั้งหมด
สิ่งใดควรจะทำต่อไปในการปรับปรุง
การทำความเข้าใจกระบวนการเป็นสิ่งจำเป็นในการปรับปรุงถือเป็นขั้นตอนแรกในการทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การใช้เครื่องมือการวางแผนและการดำเนินการโครงการ เช่นเดียวกับที่พบใน Minitab Workspace คุณสามารถมองภาพและประเมินกระบวนการได้ จากนั้นทำการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และใช้สถิติรวมถึงการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์เพื่อใช้ในการระบุสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
พร้อมที่จะเริ่มต้นแล้วหรือยัง? เริ่มทดลองใช้ Minitab Workspace ฟรี
บทความต้นฉบับ : Drilling for Success: 2 Statistical Approaches to Assess and Improve Drilling Inefficiencies
ต้นฉบับนำมาจาก Minitab blog, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ,
บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย
เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab
Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ