หัวข้อการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิเคราะห์กระบวนการ(Capability Analysis)โดยใช้ Minitab เป็นหัวข้อที่ถูกรวมอยู่ในโปรเจคของ การวิเคราะห์ความสามารถ (Capability Analysis) การวิเคราะห์ข้อมูล Lean Six Sigma การปรับปรุงคุณภาพ และ Six Sigma
คำถามที่มักได้รับหยิบยกขึ้นมาเสมอ คือ อะไรความแตกต่างระหว่างค่า Cpk และ Ppk
ค่า Ppk กับ Cpk
ทั้งค่า Cpk และ Ppk ล้วนเป็นค่าที่อาจทำให้เกิดความสับสนได้กับวิศวกรผู้ดูแลเรื่องคุณภาพของกระบวนการผลิต และโดยส่วนมากวิศวกรมักจะเข้าใจว่า ค่า Cpk ที่กำลังใช้อ้างในการพูดถึงค่า Ppk แต่แท้ที่จริงนั้นมันไม่ใช่
ค่า Ppk เป็นตัวประเมินกระบวนการในระยะยาวโดยใช้ความผันแปรรวมทั้งหมด (overall variability) ในขณะที่ค่า Cpk เป็นค่าดัชนีวัดความสามารถที่ประเมินในระยะสั้นๆและความผันแปรที่มีอยู่ในกระบวนการ (potential variability) ในบทความนี้ตั้งใจจะให้เห็นความแตกต่างระหว่างสองค่านี้
สมมติว่าในหนึ่งสัปดาห์ มีการเก็บข้อมูลในแต่ละวันตลอดทั้งสัปดาห์ และกระบวนการที่เราดูแลอยู่นั้นมีลักษณะการทำงานซ้ำๆกันตลอดในสัปดาห์(วัฏจักร) โดยความผันแปรที่เกิดจากการผลิตภายในวันเดียวกันมีขนาดไม่มาก แต่เพราะลักษณะพฤติกรรมที่เป็นวัฏจักรหรือกระบวนการมีความไม่สม่ำเสมอในแต่ละวัน ทำให้ความผันแปรรวมทั้งหมดตลอดทั้งสัปดาห์มีขนาดใหญ่กว่าความผันแปรของกระบวนการภายในวันเดียวกัน
ค่า Ppk เป็นการประมาณค่าโดยอาศัยความผันแปรที่เกิดขึ้นระหว่างข้อมูลทั้งหมดตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษา (เช่นกรณีนี้คือตลอดสัปดาห์) ส่วนค่า Cpk จะมาจากความผันแปรที่เกิดภายในกลุ่มเดียวกัน (เช่นกรณีนี้คือภายในวันเดียวกัน)
ในมุมของลูกค้าผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากความผันแปรทั้งหมด (overall variability) ดังนั้นค่า Ppk จึงมีความสำคัญอย่างมาก ส่วนค่า Cpk จะทำให้เกิดภาพสะท้อนของความสามารถกระบวนการในแง่บวกเกินไปเพราะไม่ได้มีการคำนึงถึงพฤติกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละวัน
ถ้าในการศึกษามีการคำนึงถึงเรื่องความไม่สม่ำเสมอของกระบวนการที่เกิดขึ้นซ้ำกันๆ จะทำให้เกิดความสนใจที่จะปรับปรุงค่า Ppk และเมื่อมีค่า ค่า Ppk ที่ดีขึ้นจะส่งผลให้ ค่า Cpk ด้วยเช่นกัน
จากกราฟด้านล่างนี้จะเห็นภาพสะท้อนของค่า Ppk และ Cpk ที่มาจากกระบวนการที่มีความเสถียรหรือสม่ำเสมอ ที่มีขนาดความผันแปรภายในกลุ่มเดียวกันใกล้เคียงกับขนาดความผันแปรตลอดช่วงการศึกษา (overall)
ความสามารถของระหว่าง(Between)และภายใน(Within)กลุ่ม
แหล่งกำเนิดความผันแปร(Source of Variability) ที่มีผลต่อกระบวนการในระยะยาวกับระยะสั้นอาจจะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ความผันแปรภายในแบชเดียวกันมักมีขนาดไม่มากเมื่อเทียบกับความผันแปรระหว่างแบช เพราะชิ้นส่วนที่ใช้ในแบชเดียวกันมักจะมาจากพารามิเตอร์เหมือนกันในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไม่มาก (เช่น เครื่องมือเดียวกัน) ส่วนความผันแปรอื่นๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ฤดูกาลที่แตกต่างกัน จะมีผลกระทบในระยะยาว ทำให้วิธีการศึกษาความสามารถกระบวนการแบบ ระหว่าง/ภายใน กลุ่ม ที่ใช้ความผันแปรระยะสั้นให้ความถูกต้องได้มากกว่าตามที่อธิบายมาข้างต้น ความผันแปรภายในแบชจะเป็นค่าประมาณของความผันแปรระยะสั้น แต่สำหรับระหว่างแบชอาจจะต้องมีการพิจารณาเพิ่มขึ้นจากนี้ ความผันแปรที่เกิดจากงานที่มาจากคนละแบชจะถูกนำมานับรวมเป็นความผันแปรระยะสั้น โดยนับรวมไปในความแตกต่างของแบชที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน (เรียงตามลำดับเวลา)
จากตัวอย่างข้างต้น ความผันแปรภายใน ซึ่งมาจากความผันแปรภายในแบช ส่วนความผันแปรระหว่างมาจากความผันแปรที่มาจากแบชที่แตกต่างกัน ในการประมาณค่าความผันแปรระยะสั้นที่มาจากแบชที่แตกต่างกัน จะเป็นการประมาณค่าจากค่าเฉลี่ยของแบชที่แตกต่างกันที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลา (ค่าพิสัยเคลื่อนที่ระหว่างค่าเฉลี่ยของแบชตามลำดับเวลา) ความผันแปรภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มจะถูกรวมเข้าด้วยกันแล้วแสดงเป็นค่าความผันแปรระยะสั้น แล้วนำไปใช้เพื่อคำนวณค่า Cpk ส่วนค่า Ppk จะใช้ความผันแปรทั้งหมดซึ่งมาจากข้อมูลทุกตัวที่เกิดในช่วงการศึกษา โดยไม่เรียงลำดับเวลา
จากกราฟด้านล่างนี้ กระบวนการมีลักษณะเกิดแบบซ้ำๆและเมื่อดูแนวโน้มของการเกิดในระยะยาวจะเห็นความชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าค่าเฉลี่ยของแต่ละแบชที่เรียงตามลำดับเวลาจะมีความแตกต่างกันไม่มาก (ความผันแปรระหว่างแบชที่เกิดตามลำดับเวลา) แต่เมื่อดูความผันแปรทั้งหมดของช่วงเวลาที่ศึกษาจะพบว่ามีความแตกต่างมากขึ้น (มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา) ความแตกต่างของแบชที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาอาจจะไม่สามารถสะท้อนให้ความผันแปรรวมทั้งหมด แต่จะเป็นตัวประมาณค่าที่ดีสำหรับความผันแปรระยะสั้น
บทสรุป
การแยกแยะระหว่างความผันแปรระยะสั้นและระยะยาวว่าต่างกันอย่างไร มีความสำคัญอย่างมากเพราะกระบวนการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มระยะยาว ซึ่งทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอ (ไม่มีเสถียรภาพ) และทำให้เกิดรูปแบบที่ไม่สามารถทำนายได้ (unpredictable)
ค่า Ppk ที่ประมาณค่าได้มาในวันนี้อาจจะเป็นค่าที่ไม่สามารถใช้งานได้ในวันพรุ่งนี้ เพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการในระยะยาว ความสม่ำเสมอของกระบวนการและการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการภายใต้สาเหตุปกติ เป็นคุณสมบัติสำคัญที่เป็นตัวบอกรูปแบบพฤติกรรมที่สามารถทำนายได้ของกระบวนการ ดังนั้นค่า Ppk (ความสามารถโดยรวม) ควรจะมีค่าใกล้เคียงกับค่า Cpk (ความสามารถในระยะสั้น)ให้มากที่สุด
บทความต้นฉบับ : A Simple Guide to Between / Within Capability
ต้นฉบับนำมาจาก Minitab blog, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ,
บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย
เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab
Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ