การควบรวบเข้าด้วยกันของเหมือง Wingate ของ Mosaic Corporation

ในปี 2008 Mosaic Corporation ซึ่งเป็นผู้นำในการผลิตสารอาหารโปแตชและฟอสเฟตเพื่อการเกษตร ได้ริเริ่มที่จะทำการปรับปรุงผลผลิตของการทําเหมืองฟอสเฟต Wingate ที่อยู่ในฟลอริดา  โดยทั่วไปแล้วในอุตสาหกรรมการนี้มีเปอร์เซ็นต์ recovery อยู่ที่ประมาณ 85 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ – rock recovery คือ การได้วัสดุที่มีคุณค่าตามที่ต้องการจากหินแร่ที่ผ่านกระบวนการผลิต –  แต่กระบวกการผลิตที่เหมือง Wingate นั้นมี % rock recovery อยู่ที่ประมาณ 47 % ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินงานระยะยาวว่าจะเป็นเช่นไร

ในตอนแรกผู้จัดการคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเล็กน้อย แต่ด้วยความรู้ที่ยอดเยี่ยมในการปรับปรุงกระบวนการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของโปรกรมทางสถิติ Minitab® ทำให้ทีม Six Sigma ได้ผลลัพธ์ที่ส่งผลให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์และสร้างผลกระทบทางการเงินมากกว่า 12 ล้านดอลลาร์ต่อปี รวมทั้งทีมงานยังได้รับรางวัล Process Excellence Award ประจําปี 2009 จาก International Quality and Productivity Council อีกด้วย

สิ่งท้าทาย

เหมือง Wingate เป็นเหมืองมีการเปลี่ยนมือดำเนินการไปหลายบริษัทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ไม่เคยมีผลงานที่ดีเลย ด้วยเหตุนี้จึงถูกปิดไปในปี 1999 และยังคงเป็นเช่นนั้นจนกระทั่ง Mosaic เข้าซื้อกิจการและเริ่มต้นดำเนินงานใหม่ในปี 2007 แต่อัตราการฟื้นตัวของเหมืองที่ต่ำทำให้ไม่สามารถรักษาการดําเนินงานต่อไปได้นาน

phosphateproducer
เมื่อผู้ผลิตสารอาหารพืชฟอสเฟตชั้นนําของโลกมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต บริษัทจึงเลือกใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่สําคัญด้วยซอฟต์แวร์ทางสถิติ Minitab

ในการผลิตฟอสฟอรัสจะเริ่มจากการนำแร่ดิบไปผ่านกระบวนการเพื่อสกัดสารฟอสฟอรัสออกมา ที่เหมือง Wingate จะนำมาแร่ที่ขุดขึ้นมาแล้วส่งต่อไปยังกระบวนการผลิตที่จะทำการคัดแยกแร่ธาตุ โดยเริ่มจากการคัดกรองก้อนกรวดดินเหนียวละเอียดและทรายให้แยกออกจากหินฟอสเฟตด้วยการล้างและคัดกรอง เมื่อได้หินฟอสเฟตมาจะส่งต่อไปยังขั้นตอนต่อไปเพื่อทำการคัดแยกละเอียดด้วยการทำปฏิกริยาเคมี Joe Gliksman and John Whitley ทีม Six Sigma Black Belts พบปัญหาในระหว่างการดำเนินงานของเหมือง จึงได้นำปัญหานั้นมาดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลกำไรที่สูงขึ้นด้วยการใช้องค์ความรู้ด้านการปรับปรุงคุณภาพและการใช้โปรแกรม Minitab ร่วมด้วย

บริษัท Mosaic ได้ลงทุนใน Lean Six Sigma ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทก่อตั้งขึ้นมา โดยในปีนั้นมีการควบรวมกิจการระหว่าง Cargill และ International Minerals Corporation ในปี 2008 เพียงปีเดียวได้มีความคิดริเริ่มด้านคุณภาพที่ทำงานด้วยทีมงานมากกว่า 45 ทีม ที่มีพนักงานมากกว่า 500 คนร่วมมือกัน รวมทั้งได้คืนกำไรให้กับบริษัทไปถึง 25 ล้านดอลลาร์ แต่เมื่อทีมของเหมือง Wingate เริ่มทํางาน ด้วยความคาดหวังที่น้อยมาก “ผู้จัดการมีความคาดหวังว่าจะมีอัตรา recovery เพิ่มขึ้น 2 หรือ 3 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น” Gliksman กล่าวไว้ว่า “พวกเขาบอกเราว่าถ้าการ recovery ของกระบวนการที่เหมืองนี้จะได้จนถึงค่า 70 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือเป็นปาฏิหาริย์แล้ว”

Minitab มีส่วนช่วยเหลืออย่างไร

ด้วยความท้าทายนี้ Gliksman และ Whitley ได้รวบรวมทีมงานที่มาจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต ได้แก่ วิศวกร พนักงานผู้ควบคุมอุปกรณ์ ช่างเทคนิค พนักงานในห้องปฏิบัติการ หัวหน้างาน และแม้แต่ตัวแทนของบริษัทที่ขายสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการคัดแยกแร่ธาตุ

พวกเขาเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบข้อมูลการทํางานของเหมืองในปัจจุบันโดยใช้ Minitab วิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการ ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกว่ากระบวนการทํางานได้ดีเพียงใดและจะปรับปรุงกระบวนการทำงานได้อย่างไร การวิเคราะห์ดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นถึงความกังวลของฝ่ายบริหารเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของเหมืองนี้ Gliksman ค้นพบว่า “กว่าครึ่งของผลงานที่เหมืองนี้ทำงานมาอัตรา recovery ไม่ได้ใกล้เคียงกับค่าเป้าหมาย 70 เปอร์เซ็นต์ที่ตั้งไว้เลย”

ทีมงานได้ระดมสมองทําแผนการไหลของกระบวนการผลิต โดยเริ่มจากแร่ที่ผ่านมาในโรงงานและดําเนินการวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบเพื่อระบุว่าจุดใดในกระบวนการผลิตที่น่าจะมีศักยภาพสูงสุดที่จะเป็นตัวเพิ่มอัตรา recovery  เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีแนวคิดที่น่าจะเป็นไปได้หลากหลาย ทีมงานจึงเลือกใช้วิธีการออกแบบการทดลอง (design of experiments) ของ Minitab  ที่ทำงานง่ายและสามารถประเมินปัจจัยหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน และจากผลลัพธ์ของการทำงานในขั้นต้นนี้ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเริ่มทําการเปลี่ยนแปลงได้ทันทีและมีการระบุโอกาสในการปรับปรุงเพิ่มเติม

chart11
chart21
ทีมงานใช้ Minitab ในการวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการทั้งก่อนและหลังดําเนินการปรับปรุง

Minitab แสดงให้เห็นว่าผลกระทบของโครงการเป็นไปด้วยดีเนื่องจากปริมาณหินที่ recovery นั้นมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากประมาณ 47 เปอร์เซ็นต์เป็นเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ในเวลาน้อยกว่า 30 วัน และการดำเนินงานต่างๆในโครงการที่ตามๆมาได้ทำให้อัตรา recovery ของการทำงานของเหมือง Wingate นั้นสูงขึ้นไปอีก

เมื่อการปรับปรุงของทีมเริ่มมีผลงานให้เห็นในทางที่ดีขึ้น พวกเขาจึงเริ่มใช้ Gage R&R ของ Minitab  ทำการทดสอบความแปรปรวนและแผนภูมิควบคุมเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อเป็นการยืนยันผลลัพธ์ว่าประสิทธิภาพของการปรับปรุงที่พวกเขาทํานั้นจะเป็นผลลัพธ์ที่ยั่งยืน

ผลลัพธ์

ภายใน 30 วันหลังจากเริ่มโครงการ อัตรา recovery ที่ได้จากกระบวนการผลิตหินฟอสเฟตเข้มข้นของเหมืองนี้เพิ่มขึ้นจาก 47 เปอร์เซ็นต์เป็นค่าประมาณ 68 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ และผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้ให้ยังรวมไปถึงเรื่องการเงินที่มีมูลค่า 12 ล้านดอลลาร์ต่อปี โดย 8 ล้านดอลลาร์เป็นผลมาจากการผลิตฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้น และ อีก 4 ล้านดอลลาร์มาจากการประหยัดต้นทุนการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตต่อตันลดลง

โครงการนี้ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในด้านวัฒนธรรม เพราะทำให้ผู้ประกอบการเหมืองเห็นว่าผลลัพธ์ของความพยายามในการปรับปรุงของพวกเขาจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มผลกําไรได้อย่างไร ที่เหมือง Wingate ยังคงทำโครงการปรับปรุงต่อไปเพื่อให้ได้อัตรา recovery มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

ต้องขอบคุณทีมงานที่ทํางานมาอย่างหนัก รวมทั้งการสนับสนุนที่สําคัญจากเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ทรงพลังแต่ใช้งานง่ายอย่าง Minitab ทำให้เหมืองที่ครั้งหนึ่งเคยถูกปิดไปได้รับชีวิตใหม่พร้อมกับพนักงานที่มีพลังในการค้นหาวิธีใหม่ ๆ ในการปรับปรุงกระบวนการ

องค์กร

Mosaic Corporation 

ภาพรวม

ผู้ผลิตโปแตชและสารอาหารพืชฟอสเฟตชั้นนําของโลก

ยอดขายสุทธิประจําปีเกิน 9.8 พันล้านดอลลาร์

มีพนักงานประมาณ 7,400 คน ทั่วโลก

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้

ซอฟแวร์ Minitab® Statistical

ผลลัพธ์ที่ได้

  • เพิ่มอัตรา recovery ให้มากกว่า 80%
  • การผลิตหินฟอสเฟตมีอัตราเพิ่มขึ้นกว่า 50%
  • มีผลด้านการเงินเพิ่มขึ้น 12 ล้านดอลลาร์ต่อปี แบ่งเป็น การผลิตเพิ่มขึ้น 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ ลดต้นทุนจากสารเคมีที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิต 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

บทความต้นฉบับ : Putting the Pieces Together: Mosaic Corporation’s Wingate Mine

ต้นฉบับนำมาจาก Minitab Case Study, แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นำพาเจริญ,

บริหารจัดการ SCM Blog โดยชลทิชา จำรัสพร บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด ตัวแทน Minitab ในประเทศไทย

Minitabbloglogo

เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท Minitab

Minitab ช่วยให้บริษัทและองค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นแนวโน้มของข้อมูล, แก้ปัญหาและค้นพบประเด็นสำคัญจากข้อมูลเชิงลึก โดยนำเสนอชุดโซลูชั่นที่ครอบคลุมทุกด้านและดีที่สุดสำหรับซอฟต์แวร์ในระดับเดียวกัน ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการปรับปรุงกระบวนการ 
ด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ และการนำเสนอซอฟต์แวร์และบริการแบบองค์รวม Minitab ช่วยให้องค์กรเข้าถึงกระบวนการตัดสินใจในส่วนที่ช่วยผลักดันให้เกิดความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ดีขึ้น ความง่ายในการใช้งานที่โดดเด่นกว่าใครมีส่วนช่วยให้ Minitab สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเป็นเรื่องที่ง่าย ทีมงานของ Minitab ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างเข้มงวด จะช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งานวิเคราะห์ข้อมูลและพร้อมที่จะให้คำปรึกษาตลอดเวลาที่ใช้งานเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้น รวดเร็ว และแม่นยำ 
เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ Minitab ได้ช่วยองค์การต่าง ๆ เพิ่มรายได้ ควบคุมและลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เสริมสร้างความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพ ธุรกิจและองค์นับหมื่นทั่วโลกใช้ Minitab Statistical Software®, Companion by Minitab®, Minitab Workspace®, Salford Predictive Modeler® and Quality Trainer® เป็นเครื่องมือช่วยในการค้นพบและปรับปรุงความบกพร่องในกระบวนการ